ตัวอย่างการปรับระบบประเมินผลงาน เพื่อสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้น (สำหรับประเมินระดับพนักงาน)

  • 23 พ.ค. 2566
  • 1410
หางาน,สมัครงาน,งาน,ตัวอย่างการปรับระบบประเมินผลงาน เพื่อสร้างมาตรฐานที่สูงขึ้น (สำหรับประเมินระดับพนักงาน)

คอนเทนต์ที่แล้ว เราได้เห็นลักษณะการทำงานภายในองค์กรที่เปลี่ยนไปตั้งแต่ช่วง New Normal ถึงปัจจุบันที่เรียกว่า Next Normal ซึ่งจำเป็นต้องนำมาปรับใช้ในการประเมินผลงาน เพื่อยกระดับมาตรฐานในการทำงานภายในองค์กรให้สอดคล้องกับสิ่งที่เกิดขึ้นและพร้อมรับมือได้ทุกสถานการณ์ในอนาคต

ใครพลาดไปแล้ว !! อ่านย้อนหลังได้นะคะ >> https://jobbkk.com/go/g4h9a

 

ทีนี้ มีอะไรบ้างที่เราควรปรับในระบบประเมินผลงาน (ระดับพนักงาน) มาดูตัวอย่างไปพร้อมกับ HR Buddy เลยค่ะ

 

1 เป้าหมายการทำงาน (Goals) (KPI) ใหม่ สำหรับหน่วยงานหรือตำแหน่งที่มีการปรับเป้าหมายเนื่องจากโรคระบาดเข้ามา เช่น การขาย, การผลิต, การตลาด ก็ต้องวัดผลตามเป้าหมายใหม่

 

2 การรายงานความคืบหน้าของงาน รายวัน/รายสัปดาห์ เพื่อวัดระดับความรับผิดชอบในหน้าที่และพัฒนาการในการทำงานตามสถานการณ์ที่เปลี่ยนไปจากเดิม ว่าบุคคลนั้นควรค่าแก่การที่องค์กรจะรักษาไว้มากน้อยแค่ไหน

 

3 พฤติกรรมการทำงาน มีการปรับเปลี่ยนให้ทันต่อการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง เพื่อให้งานของตนสำเร็จตามเป้าหมาย เช่น การเพิ่มประสิทธิภาพตามบริบทการทำงาน (Contextual Performance) ตัวอย่าง

การแสดงศักยภาพที่ไม่ได้พบในสถานที่ทำงานปกติ อาทิ การนำความสามารถพิเศษอื่น ๆ มาใช้เพิ่มเติม เพื่อสร้างผลงานใหม่ ๆ ที่สอดคล้องกับยุคสมัย, การพัฒนาทักษะการใช้เทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อเพิ่มคุณภาพและความรวดเร็วในการทำงาน หรือการสร้างเครือข่ายการประสานงานเพิ่มขึ้น เพื่อประโยชน์ในการทำงานที่เกี่ยวข้องกับตำแหน่งงานของตนเอง

 

4 ความรวดเร็วในการสื่อสารตอบกลับ (Responding Behavior) อย่างการตอบกลับผ่านช่องทางออนไลน์ที่เราใช้สื่อสารกันทุกวัน เช่น Line, Facebook หรือ E-Mail โดยเฉพาะพนักงานที่ WFH รวมถึงการรับสายทันท่วงที โดยเฉพาะตำแหน่งงานบริการหรือการขาย หรือแม้หัวหน้างาน ยังต้องวัดผลในเรื่องความต่อเนื่องในการติดต่อจนจบงาน, การ Stand byในเวลาที่เหมาะสม, การคุยเรื่องงานนอกเวลา เมื่อมีเรื่องด่วนเข้ามา ซึ่งนับว่าเป็นเรื่องธรรมดาที่มักเกิดขึ้นในยุคที่เราสื่อสารกันได้ 24 ชม. เช่นนี้พนักงานให้ความร่วมมือกับองค์กรมากน้อยแค่ไหน 

 

5 การรักษาความใกล้ชิดกับลูกค้า (Staying close to customers) เพื่อสร้างความสัมพันธ์ เพิ่มโอกาสในการซื้อสินค้าและ/หรือบริการอย่างต่อเนื่อง หรือเพิ่มโอกาสที่ดีให้กับการดำเนินธุรกิจ เป็นสิ่งที่บอกได้ว่า พนักงานมี Passion ในการทำงานและมีส่วนร่วมในการผลักดันองค์กรให้เติบโตมากน้อยแค่ไหน

 

6 ปริมาณงานที่ทำได้สำเร็จเมื่อเทียบกับการทำงานที่ออฟฟิศ สำหรับบางตำแหน่งงานที่ต้อง WFH, Hybrid ปริมาณงานที่ได้เป็นอย่างไร หากได้เท่าเดิม คุณภาพควรมากขึ้น หรือน้อยกว่าเดิม คุณภาพก็ต้องสูงขึ้นมาก หรือทำได้มากขึ้นดีขึ้นกว่าที่ออฟฟิศ แต่ก็ขึ้นอยู่กับเป้าหมายการทำงานของแต่ละตำแหน่งด้วยนะคะ ตามที่กล่าวในข้อ 1 ค่ะ

 

ทั้งนี้ หากองค์กรของคุณมีการปรับเปลี่ยนที่แตกต่าง หรือเพิ่มนโยบายการทำงานอื่น ๆ เข้ามามากกว่านี้ ก็ต้องนำมาปรับใช้ หรือเรียกง่าย ๆ ว่า นำมาอัปเดตในระบบประเมินผลงานด้วยนะคะ 

 

และครั้งหน้า HR Buddy จะพาไปดูตัวอย่างการปรับระบบประเมินผลงาน สำหรับประเมินระดับบริหาร อย่าลืมติดตามด้วยนะคะ

 

ต้องการข้อมูลเพิ่มเติม สอบถามได้เลยค่ะ https://www.facebook.com/hrbuddybyjobbkk

ขอบคุณข้อมูล :  อาจารย์ พรเทพ พงษ์สง่างาน  ที่ปรึกษาอาวุโสด้าน HR และกรรมการ บริษัท เซ็นเมนทอร์ จำกัด ,กรรมการบริหาร APK Management Center

Website : www.senmentor.com

Line : wisebrown

Tel : 081-820-9271

 

สอบถามเพิ่มเติมสำหรับ HR : 02-514-7474 ต่อ 3

อีเมล : crm@jobbkk.com

Line : @jobbkkvip (อย่าลืมใส่ @)

หางานตามสาขาอาชีพ

JOBBKK.COM © สงวนลิขสิทธิ์ All Right Reserved

jobbkk มีเพียงเว็บเดียวเท่านั้น ไม่มีเว็บเครือข่าย โปรดอย่าหลงเชื่อผู้แอบอ้าง และหากผู้ใดแอบอ้าง ไม่ว่าทาง Email, โทรศัพท์, SMS หรือทางใดก็ตาม จะถูกดำเนินคดีตามที่กฎหมายบัญญัติไว้สูงสุด DBD

Top